ดนตรีไทย-ผ่านมุมมองจากบทสัมภาษณ์ (2)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงค์ เขียนทองกุล

 ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน


1.อนาคตคาดว่าดนตรีไทยจะเป็นอย่างไร
    "ก็คิดว่ายังอยู่ได้เพราะจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่สนใจอยู่สามารถเล่นได้อนุรักษ์ได้พวกนี้ก็จะสืบทอดต่อ แต่อาจจะไม่ใช่วงกว้างอนาคตก็ต้องมีหน่วยงานหน่วยที่รองรับในการจัดงาน เช่น ทีวีโทรทัศน์ วิทยุ แต่เนื่องจากว่าปัจจุบันพวกนี้ไม่ค่อยมี มันน้อยลง เพราะฉะนั้นกิจกรรมก็จะน้อยตามไปด้วย ยกเว้นแต่ว่าเป็นกรณีพิเศษที่เขาจัดแล้วถึงจะมี อย่างกระแสปัจจุบัน เรื่อง บุพเพสันนิวาส พอมีเรื่องบุพเพฯ ก็อาจจะมีการกระตุ้นอาจจะมีการเฟื่องฟูขึ้นมานิดนึง เดี๋ยวมันก็จะหายเลย อย่างเช่น ตัวอย่างหนังโหมโรงประมาณปี 2547 เพราะมีหนังเรื่องนั้นขึ้นมาคนก็สนใจดนตรีไทย เพิ่งเข้ามากลุ่มหนึ่งเพราะไปปายก็จะหายไปเหมือนฟู่ขึ้นแล้วก็หายไป เหมือนเป็นคลื่นซัดเข้าหาฝั่งแล้วก็หายไป ก็จะมีบางส่วนเท่านั้นที่เหลืออยู่แต่ก็จะน้อย"

2.ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเครื่องดนตรีไทย
    "ปัจจัยก็เรื่องการดำรงชีพเป็นเรื่องใหญ่มีการจ้างงาน ถ้าไม่มีการจ้างงานก็จะน้อยลง แล้วส่วนอื่นๆก็คือเรื่องของหน่วยงานต่างๆของราชการถ้ามีการส่งเสริมทางราชการก็ไปได้ แต่ถ้าไม่มีการส่งเสริม ก็จะมีการลดลง ปัจจัยอื่นๆอีก เช่น วิธีปลูกฝังเด็กก็จะมีเด็กต่อ ถ้าโรงเรียนไหนไม่มีคนสนใจก็จะไม่มี ก็จะน้อยไป หรือผู้อำนวยการหรือผู้บริหารสนใจ โรงเรียนนั้นก็จะมีนักดนตรีเพิ่มขึ้น"

3.อาจารย์มีแนวทางการอนุรักษ์อย่างไรบ้าง
     "แนวทางการอนุรักษ์ก็ สิ่งที่ปัจจุบันก็จะทำลักษณะการประยุกต์เครื่องดนตรีไทยบางส่วนให้เข้ากับดนตรีชาติอื่นๆ ดนตรีสากล ดนตรีตะวันตก แต่ว่าไม่ได้ทำให้ต้องเปลี้ยนแปลงไปมาก ทำเป็นบางส่วน เพื่อให้คนที่ไม่ค่อยรู้จัก เขาฟังแล้วคุ้นหู เกิดความสนใจ พอถ้าเขาสนใจ เขาก็อยากจะเรียนรู้เรื่องดนตรีไทย แล้วก็ค่อยๆรักและอยากรักษา อยากเรียนเพิ่ม หรืออยากจะศึกษาว่าของเก่าเป็นอย่างไร มันก็จะเป็นการอนุรักษ์ในตัว มีการสืบทอดต่อไปอีก"


............................................................................................................................................................................................



อาจารย์ ฉัตรติยา เกียรตินาวี


                        ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน                           

1.ปัจจัยที่มีผลต่อดนตรีไทย
         "ระบบอุปถัมภ์ต่อวงการดนตรีไทยและกระแสนิยมในสมัยปัจจุบัน เช่น ถ้าหนังเรื่องไหนดัง จะนำไปพิจารณา  ก็มีรัฐบาลหรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ทางกระทรวงวัฒนธรรมก็เอางานไปให้บ้าน ก็แปลว่าบ้านนั้นอยู่รอด เพราะมีวิธีการดำรงชีวิต แล้วมันก็เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งมีกรมศิลปากร อันนั้นคือรัฐบาลเป็นคนออกงบประมาณ แล้วก็ต้องอาศัยสังคมที่มีกระแส เช่นในหนัง ถ้าอังศุมาลินมา ก็จะมีคนฮิตเยอะ ภาพยนตร์ระนาดเอก โหมโรง คนก็จะไปเรียนระนาดเยอะ หรือว่า ดนตรีตอนนี้พวก Pop Music แล้วก็ Thai Pop เนี่ย ที่เอาดนตรีไทยเข้าไป แล้วก็ทำให้เด็กที่ฟังอาจจะแบบเริ่มได้ยิน แต่ถามว่า เขามาเล่น เขามาเสพดนตรีไทยจริงๆมั้ย มันก็เป็นที่คน แต่ถามว่ารับรู้มากขึ้นมั้ย รับรู้มากขึ้น คือมันต้องทำ คือดนตรีไทยต้องปรับตัวว่าทำยังไงที่จะให้คนสมัยใหม่ฟัง  แต่บ้านดุริยประณีต เขาเคยทำได้เพราะเขาเคยทำละครมาก่อน ตัวขุนอินเองก็ทำเพลงไทยร่วมสมัย คือบ้านนี้จริงๆแล้ว ถามว่าความเป็น การเปิดของตลาดบ้านนี้ทำได้ดี บ้านดุริยประณีตทำได้ดี อย่างถ้าบ้านหลวงประดิษฐ์เขาจะเน้นไปที่ชุมชน เยาวชน ให้เยาวชนมาเล่นดนตรีกัน แต่ว่าอย่างบ้านดุริยประณีต เขาเป็นนักแสดง เป็นศิลปินโดยสายเลือด เขาใช้ความเป็นศิลปินขายออกตลาด แล้วคือแล้วบ้านเขาไม่ได้แค่ดนตรีไทย ยังมีการสอน แล้วเขาก็เป็นดาราด้วย ครูสุดจิตต์ เป็นศิลปินแห่งชาติ แล้วรัฐบาลก็ให้การสนับสนุน และรวมถึงข้าราชการกรมศิลปากรด้วย  ครูเหนี่ยวที่สอนอยู่บ้านนะ  แต่เขามีความเป็นศิลปิน  มีความสามารถ มีความเป็นศิลปิน  รู้จักว่าจะทำยังไงถึงจะขายได้  รู้ว่าจะร้องยังไงให้คนมาฟัง อย่างที่บอกครูเหนี่ยวร้องดีคนฟังสองรอบ  ร้องจนลืมดูละคร เล่นศิลปะเพื่อศิลปะ เล่นด้วยใจรัก ไม่ได้เพื่อที่จะออกการตลาด แถวบ้านดุริยประณีตพาออกตลาดจริง เพราะเขาเป็นคณะละคร คณะดนตรี ถ้าไม่ทำเขาก็อยู่ไม่ได้ อย่างบ้านหลวงประดิษฐ์ ดังด้วยตัวหลวงประดิษฐ์  เป็นครู เป็นนักแต่งเพลง คนก็เข้ามาหาเอง  ดุริยประณีตเขาคณะใหญ่  แล้วเขาก็ทำดนตรีได้ทุกยุค ยุคโบราณ เขาก็เคยทำ เขาก็ปรับตัวให้ทันสมัย กรณีครูเหนี่ยวก็คิดนักร้องใหม่  นักดนตรีเขา ลูกหลานเขาก็ทำดนตรีร่วมสมัย  รวมถึงไทยสากล แล้วก็คือองค์ความรู้อยู่ที่ใครในบ้านนั้น องค์ความรู้นั้นมันค่อนข้างชัดเจน แต่อยู่ที่คนนะ บางคนเสียชีวิตไปองค์ความรู้นี้ไปเลย เพราะว่ามันถ่ายทอดกันไม่หมด คือเขาอาจจะไม่ได้มีการสอนในมหาวิทยาลัยเช่น การทำเพลง บรรจุเพลงละคร  เคยเห็นว่าอาจจะพยายามทำแต่ถามว่ามันคล้าย มันดีเท่าเดิมมั้ย มันก็จะไม่เหมือนทั้งหมด เพราะว่าสะสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆ  แล้วคุณปิ่นเป็นคนจัดการทุกอย่าง เพราะฉะนั้นถ้าคุณปิ่นไป บ้านมันค่อนข้างขาดเสาหลัก แต่ว่าไม่แน่ เขาอาจจะฟื้นขึ้นมาเพราะว่าเขามีศิลปินเยอะ ถ้าศิลปินพวกนั้นดึงคนเข้าบ้าน กลับมาสร้างบ้านให้เหมือนเดิม นามสกุลเขาก็ยังคงมีขื่อเสียงในสังคมอยู่เรื่อยๆ ดุริยประณีตเป็นดุริยพันธ์ เป็นนักดนตรีที่มีแบบลักษณะปัจจัยด้านการตลาด ความนิยมในสังคม การตลาด สื่อ  และอื่นๆ "

......................................................................................................................................................................................

ความคิดเห็น