ประวัติและการทำงานของผู้นำในบ้านดุริยประณีต



ประวัติและการทำงานของผู้นำในบ้านดุริยประณีต

แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ครูศุข-นางแถม ดุริยประณีต
ระยะที่ 2 ครูโชติ ดุริยประณีต
ระยะที่ 3 ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต
ระยะที่ 4 ครูชยันตรี อนันตกุล

ระยะที่ 1 ครูศุข-นางแถม ดุริยประณีต

ผู้ก่อตั้งตระกูลคือ ครูศุข ดุริยประณีต เป็นนักดนตรีพื้นบ้านที่มีพื้นเพมาจากบ้านลุ่ม บางเขน จังหวัดนนทบุรี เรียนดนตรีกับครูหงส์ ต่อมาได้ฝากตัวเป็นนักดนตรีประจำวังบ้านหม้อ กรมมหรสพ ซึ่งมี เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เป็นเจ้ากรม ต่อมารับราชการเป็นนักปี่พาทย์ตำแหน่งหน้าที่เป็นคนระนาดเอกและระนาดเอกเหล็ก ได้เรียนดนตรีกับ พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านดนตรีไทย ต่อมาครูศุขได้เชื้อเชิญ พระนาเสนาะดุริยางค์ มาสอนดนตรีไทยให้กับบุตรธิดาในบ้าน ปี พ..2448 ครูศุขได้แต่งงานกับ นางสาวแถม เชยเกษ ทำอาชีพการสร้างเครื่องดนตรีไทย และได้มาเรียนเกี่ยวกับการแสดงละครในวัง  มีบุตรธิดา 12 คน ถึงแก่กรรมไป 2 คน ครูศุขถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุกับนายสืบสุดลุกชายคนเล็ก การดำเนินกิจการต่าง ๆจึงเป็นหน้าที่ของนางแถม จนกระทั่งนางแถมถึงแก่กรรม ในด้านการการทำงาน ครูศุข เป็นผู้นำของบ้าน มีการจัดวงดนตรีไทยประกอบไปด้วยบุคคลภายในบ้านเป็นหลัก และบุคคลภายนอกช่วยเสริม คอยจัดการดูแลเรื่องเกี่ยวกับดนตรีไทยทั่วไป สร้างเครื่องดนตรีขาย สรรหาครูอาจารย์ที่จะมาสอนดนตรี รวมทั้งนำลูกๆไปเรียนดนตรีกับครูที่บ้านครูหลายท่าน เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับของวงการดนตรีอันมีผลต่อผู้ที่ชื่นชมและสนใจ หาวง ดนตรีบ้านบางลำพูไปบรรเลงในงานพิธีหรืองานฉลองต่างๆ แม่แถมเป็นผู้ดูแลจัดการเรื่องทั่วไปและผู้ช่วยเหลือสนับสนุนครูศุข.

 ระยะที่ 2 ครูโชติ ดุริยประณีต


ครูโชติเป็นบุตรคนที่สองและเป็นบุตรชายคนแรกของบ้านดุริยประณีต เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2452 เริ่มต้นเรียนดนตรีกับบิดาเรียนปี่และขับร้องกับพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เรียนเครื่องหนังกับพระพาทย์บรรเลงรมย์ ขับร้องและสามารถแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ หน้าที่การงานรับราชการในกองการสังคีต กรมศิลปากร ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการเป็นหัวหน้าแผนกดนตรีไทย ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2516 มีบุตรธิดาจำนวน 5 คน ในด้านการทำงาน ครูโชติ ได้ดำเนินการโดยเป็นผู้นำในเรื่องดนตรีเพราะได้เป็นหัวหน้างานดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้นำของบ้านในระยะหนึ่ง จนกระทั่งย้ายบ้านออกจากบางลำพูไปอยู่แถบบ้านขมิ้น ฝั่งธนบุรี จนถึงแก่กรรม บุคคลภายในที่สำคัญ มีคนเด่นประจำบ้านได้แก่ ครูสืบสุด (ไก่) ดุริยประณีต เป็นนักระนาดประชันวงที่มีไหวพริบเป็นเลิศ และมีพี่สาวเป็นนักร้องคือ ครูชม ครูทัศนีย์ และคุณสุดจิตต์


ระยะที่ 3 ครูสุดจิตต์ (ดุริยประณีตอนันตกุล

ครูสุดจิตต์เป็นบุตรสาวคนสุดท้ายเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมพ.ศ. 2471 เรียนดนตรีกับบิดา เรียนขับร้องจากพี่ ได้แก่ ครูโชติ ครูสุดา ครูแช่มช้อย และครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ เรียนเพิ่มเติมจากภายนอกคือ พระยาภูมีเสวิน เริ่มต้นรับราชการเป็นครูสอนขับร้องที่โรงเรียนทวีธาภิเศก ต่อมาภายหลังได้โอนย้ายไปอยู่แผนกดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ ตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าแผนกดนตรีไทยจนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ปัจจุบันรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาดนตรีไทยแผนกดนตรีไทย กรมประชาสัมพันธ์ ครูสุดจิตต์ได้จัดรายการดนตรีไทย  เช่น แนะนำการขับร้องเพลงไทยรื่นรสดนตรีไทย รายการดนตรีไทยประจำวันอาทิตย์ช่อง 11 นอกจากนั้นยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (คีตศิลป์) ประจำปี 2536 ได้ก่อตั้งมูลนิธิบ้านดุริยประณีตขึ้นในปี 2545 และสมรสกับนายพันธ์ อนันตกุล มีบุตร 1 คนคือ นางชยันตี อนันตกุล



ระยะที่ 4 นางชยันตี อนันตกุล 

 นางสาวชยันตี เป็นบุตรสาวคนเดียวของนายพันธุ์ กับ นางสุดจิตต์ ช่วยงานด้านบริหารกิจการต่างๆ ดูแลการเรียนการสอนดนตรีไทยและนาฏศิลป์ โดยมีลูกหลานในสายสกุล ศิษย์ ได้ร่วมมือกันสืบสานกิจกรรมต่างๆขึ้นในทางอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เช่น รื้อฟื้นละครร้องแบบกรมพระนรา-ปรีดาลัย จัดแสดงละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ณ หอประชุมกรมประชาสัมพันธ์ จัดงานเทิดพระเกียรติ “๖๐ พรรษา องค์เอกอัครวิศิษฏศิลปินปิ่นสยาม” ณ พิพิธบางลำพู มีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมสนับสนุน อีกทั้งร่วมมือกับองค์กรต่างๆ จัดงานประเพณีไทย เช่น ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดงานวิถีไทย งานประเพณีลอยกระทง ฯลฯ



























ความคิดเห็น