นางชยันตี
อนันตกุล
ประธานมูลนิธิดุริยประณีต
1.ประวัติของบ้านดุริยประณีต
"ถนนพระอาทิตย์เป็นท่าเรือเหมือนเป็นร้านอาหาร
สมัยก่อนเป็นคลองไปออกเจ้าพระยา คนมาเล่นดนตรีก็จะล่องเรือ
เอาเครื่องดนตรีใส่เรือไปข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปวัดพระยาศิริ คุณตาเขามาทำงานอยู่ในกรมวังบ้านหม้อ
คุณยายย้ายมาจากนครสวรรค์ แถวนี้ก็จะมีโรงละคร ถนนพระอาทิตย์ พวกโรงลิเก
ระหว่างที่คุณตาไปทำงานตอนเย็น มาเจอกับยายแล้วแต่งงาน
เมื่อก่อนคุณตาเช่าบ้านอยู่ในซอยนี้ พอมีลูกมากขึ้น ก็เลยต้องทำเครื่องดนตรีขาย
พอมีเงินก็มาซื้อบ้านหลังนี้ แต่บ้านไม่ได้มีลักษณะอย่างนี้ เป็นบ้านไม้สองชั้น
ตรงนี้เป็นเรือนชานไม่มีหลังคาเลย พึ่งมาเปลี่ยนหมด
คุณตารถคว่ำพร้อมลูกชายคนเล็กไปเล่นดนตรี คนเล็กชื่อสืบสุข คนทั่วไปจะเรียก ครูไก่
สมัยนั้นไก่ สืบสุขดังมาก แล้วไปเล่นงานวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 01 ที่อยุธยาวังน้อย
รถคว่ำตาย คุณยายเลยต้องดูแลลูกทั้งหมด แต่ตอนนั้นลูกโตหมดแล้ว หลังจากนั้น
ก็มีพี่อีกคนชื่อชุบ เป็นผู้หญิงไม่ค่อยได้เล่นดนตรี แต่เขาดูแลหลังบ้าน
มีครูโชติเป็นหัวหน้ากรมศิลป์ แล้วก็มีครูชื้น ครูชั้นครูชั้นนี่พ่อครูหวัด
แล้วตอนหลังก็ดูแลบ้านไปตลอด คนสุดท้องคือครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต
ได้ศิลปินแห่งชาติ เป็นคนก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมา พอพี่เสียพ่อแม่เสียหมดเลยแล้วดูแลบ้านลูกศิษย์ก็เลยเยอะมากเป็นคนใจดี
แล้วก็มีประวัติเป็นประธานพจนานุกรมเมืองไทยหมดเลยพวกราชบัณฑิต แล้วก็
ละครอาสาสมัครสมเด็จพระนางเจ้า พระราชนีตอนช่วงปี 11
อยากให้คนไทยรักชาติเลยให้อาจารย์สมพจน์บูรพา
แต่งเรื่องขึ้นมา พระนเรศวรนางเสือแล้วก็เอานิสิตนักศึกษาประชาชนทหารร้องรำไม่เป็นเลยนะให้เล่น
200 กว่าคนและจะได้รักชาติ
เล่นพระนเรศวรให้ประชาชนดูครูสุจิตต์ได้เป็นคนหนึ่งที่ได้บรรจุในวังและสอนร้องถึงได้สนิทกับในวังท่านก็เล่าว่าระหว่างนั้นแม่เล่นละครเสร็จก็ตามไปเล่นในวังคุณแม่ก็ตามเสด็จไปสอนแล้วก็ได้ใกล้ชิดสมเด็จพระเทพ
ท่านก็มานั่งเล่นไม่ได้สอนโดยตรงแบบในมหาวิทยาลัย
ท่านเรียนกับอาจารย์ในชมรมจุฬาแต่คุณแม่สอนอยู่คุรุท่านอยู่ชมรมอักษร
ชมรมดนตรีได้มาใกล้ชิดตามเสด็จไปเล่นดนตรี เราลูกหลานทำกันเองลูกหลานดูแลกันมาตลอดเป็นทายาทลำดับที่
3 ตอนนี้สุดที่อันดับ
5 อายุประมาณ 15-20
เด็กกว่านั้นก็มีก็เก่งนะเขาเรียนคุรุศาสตร์จุฬาเก่งด้านดนตรีพวกนี้จะมาเป็นกำลังให้ที่บ้าน
น้องคนหนึ่งอยู่เทพศิรินทร์ม.5
ก็ประกวดได้ที่หนึ่งตีฆ้องชนะเลิศบางทีก็มาช่วยสอน
พวกนี้ก็หลานของคนเล่นดนตรีเก่งจะเป็นกำลังสำคัญถ้าพวกผู้ใหญ่เสียรุ่นเขาก็สืบต่อไปถ้าใครไม่มีลูกหลานนี้ลำบากเลือดเนื้อเชื้อไขมันจะไม่ทิ้งกันลูกศิษย์ก็ดีกลับมาช่วยสอน ญาติยังเล่นดนตรียังเล่นด้วยกัน
ช่วยสอนรับงานตลอดมีงานทุกวันเลยไปเล่นดนตรีงานศพ
ชาวต่างชาติก็ล่องเรือมาเป็นเรือเดินสมุทรใหญ่มาจากนอร์เวย์ สวีเดน มาจอดท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
ทัวร์ก็ให้เราเอาเครื่องดนตรีไปเล่นเอารำไปโชว์ได้ไปเล่นที่ม.
ศิลปากรงานวันสงกรานต์ใครเขามีงานก็ไปหมดลูกหลานจะไปทำลูกศิษย์ก็ไปเล่นศักตวาที่เขาบอกสดๆตีสดๆต้องใช้ไหวพริบ
ครูสุดจิตเป็นคนต้นเรื่องลูกหลานได้ยินก็สืบต่อกันมาไปเล่นที่จุฬาเมื่อ 3 4
วันก็มีงานเรื่อยๆ เมื่อก่อนละครนอกก็คือพวกนี้ต้องใช้ดนตรีสดๆ ในปัจจุบันก็ยังมี แต่หลักหลักก็คือกรมศิลป์ บ้านพี่ไม่ได้หนักไปทางโขนละครจะหนักไปทางดนตรีปี่พาทย์
แต่พวกโขนเป็นของกรมศิลป์ แต่ถ้าใครมาถามเราจัดให้หมด บ้านเราก็จัด มีลูกศิษย์ลูกหลานที่เล่นดนตรีได้
แต่หลักๆก็พวกกรมศิลป์
เคยจัดโขนโรงใหญ่ที่เพชรบุรีรามเกียรติ์ตอนใหญ่ๆงานศพก็จัดให้หมดดนตรีแต่ชื่อเสียงเราก็ดังในเรื่องดนตรีเดือนหนึ่งจะมี
3-4
ครั้งที่ชาวต่างชาติมาก็อยากอนุรักษ์ของเดิมแต่ให้มันดีขึ้นกว่าเก่าอยากมีห้องให้ฝรั่งเปลี่ยนชุดไทยเรายังไม่มี
ก็คงต้องปรับปรุงบางคนก็มาเล่นจริงเรียนจริง"
2.ปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนแปลง
"มันก็เป็นช่วงช่วงเดี๋ยวเยอะเดี๋ยวน้อยเด็กมาเรียนเยอะก็ไม่ใช่เรียนเฉยๆเพราะเดี๋ยวนี้อยากเข้ามาหาวิทยาลัยโรงเรียนดังๆสอบดนตรีเข้าไป
เมื่อก่อนเขาหาว่าเต้นกินรำกินเดี๋ยวนี้ไม่ใช่ ก็ดีทำให้คนสนใจมากขึ้น เพิ่มเป็นความสามารถพิเศษ"
3.มีการเรียนการสอนวันเวลาไหนบ้าง มีจำนวนมากขึ้นมั้ย
"วันเสาร์-อาทิตย์ ดนตรีเรียนบ่ายโมงถึงบ่าย 2 สอนวันละ 4 รอบรอบละ 2 ชั่วโมง ปิด 1 ทุ่ม
เมื่อวานก็เลิก 1 ทุ่มวันนี้ก็เลิก 1 ทุ่ม ปี 1
ต้องพาไปเล่นแสดงผลงานนักเรียนแต่เล่นที่พิพิธภัณฑ์ปีละครั้งก็ชอบมีงานให้ออกตลอด การที่มายืนอธิบายเฉยๆมันน่าเบื่อ
พี่ก็ทำแบบ จัดกิจกรรมขึ้นมา อย่างฝรั่งมาหรือชาวต่างชาติมา
ก็ให้เขาแต่งชุดไทยเลยนะ เหมือนเราไปพักเกาหลี แต่งชุดฮันบก เราก็ให้เขาแต่งชุดไทย
แล้วเค้าก็แบบให้ฝึกเขาเล่นดนตรีไทยจริงๆ เอาครูมาสอน เอาเพลงง่ายๆ เช่น
ถ้าเขาคุ้นหูแบบหนูมาลี เขาก็ตีซัก 20 นาที เขาก็ตีเป็นละ เขาก็ชอบ
แล้วก็สอนทุกเครื่องมือ ระนาด ขิม ตะเข้ ถ้าอยากจะเรียนอะไรก็สอนซะ
พอเรียนเป็นปุ๊ป เขาก็ดีใจแล้วเขาก็ได้ถ่ายรูปกัน ชุดไทยเรียนดนตรี
ก็มีอาหารว่างเลี้ยงเขา แขกก็มาบ่อย เขาก็เอานักท่องเที่ยวมาเที่ยวบ่อย บ้านพี่มันคับแคบนะ
จะทำยังไงดี ก็ต้องแบ่งเป็นช่วงๆ เพราะฉะนั้นเสาร์นึง เรียน 4 เวลาเลยนะ ครั้งละ 2
ชั่วโมง บ้านพี่เปิดเรียนรำ 9 โมง อ่ะ 9 โมงถึง 10 ครึ่ง รำชั่วโมงครึ่ง
ต่อไปก็เรียนดนตรี 10 ครึ่ง ถึงเที่ยงครึ่ง บ่ายสองถึงบ่ายสี่ บ่ายสี่ถึงบ่ายหก
บางวันบ่ายหกถึงสองทุ่ม เพราะว่ารอบนึงก็เรียน อย่างครูท่านนึง สอนน้องๆได้ประมาณไม่เกิน
7 คน เพราะว่ารับเต็มที่แล้วแบบไม่ได้ผล เพราะเด็กมีเยอะ จำเป็นต้องแบ่งเป็นรอบ
เรียนไป แบ่งเป็นกลุ่ม เครื่องสายก็เรียนไป ซอ จะเข้ ขิมอะไรก็อยู่กลุ่มนึง ปี่พากย์
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องก็อยู่กลุ่ม ก็แบ่งเป็นกลุ่มๆไป รอบละ 2 ชั่วโมงอย่างงี้
วันละ 4 รอบอ่ะ เด็กรวมๆก็ร้อยกว่าคน ค่าเรียนก็ถูกมาก 500 บาท
ซึ่งแบบเราไม่ต้องเช่า อย่างที่พี่บอก อยู่ได้เพราะบ้าน เราก็ไม่ต้องเช่า
แล้วก็มีจิตอาสาจากลูกศิษย์คุณแม่หรือว่าลูกหลานช่วยกัน
แล้วผู้ปกครองเขาก็น่ารักนะ เขาก็มานั่งดู มีอาหาร
บางทีคนใจดีก็ทำอาหารมาเลี้ยงน้องๆ เหมือนอยู่แบบพี่น้อง มันเป็นยุคๆ
มันเป็นแบบช่วงๆนะ อย่างช่วงโหมโรง คนเรียนระนาดเยอะมากเลยสมัยนั้น โหมโรงดังๆ
แล้วมันก็ซาๆไป แต่ทีนี้คือผู้ปกครองอยากให้น้องเรียนเพราะอะไรรู้มั้ย หนึ่ง
เด็กชอบเองด้วย คืออยากจะเรียนเลยรบเร้าผู้ปกครองมา สอง
จำพวกพ่อแม่บังคับนี่ไม่ค่อยได้ผล เพราะว่าเรียนแปปเดียวก็เลิกละ
แต่ถ้าเด็กมันอยากเรียนด้วยก็จะนานเลย ทนเรียนทุกอย่างเลย เช้าเรียนรำไป
กลางวันเรียนโขน บ่ายเล่นดนตรี ไม่กลับบ้านเลยนะ เด็กมันชอบไง
บางคนก็เรียนไปอย่างงี้ หลายๆอย่างเลย รับตั้งแต่หกขวบจนถึงอายุหกสิบกว่ายังมีเลย
แล้วก็จะมีแบบ เด็กมีความสามารถพิเศษมาเรียนหลายคนนะ"
4.อยากทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านดุริยประณีตกับชุมชนบางลำพู
"จะบอกว่าสมัยก่อน
สมัยคุณแม่พี่อยู่ เกือบ20 ปี คือต้องเล่าสภาพแวดล้อมที่ในซอยนี้ก่อนนะ
เมื่อก่อนมันเป็นบ้านหลังอยู่กันก็เหมือนเขาก็มีลูกหลานอยู่ในบ้าน
เห็นบ้านเราเป็นบ้านดนตรีไทย สอนรำ เขาก็ส่งลูกหลานเข้ามาเรียน
แต่เดี๋ยวนี้สภาพแวดล้อมมันเปลี่ยนไปแล้ว บ้านซอยมันเหมือนธุรกิจแล้ว ปรากฏว่าเหมือนที่มันแพง
ตารางวาละสองสามแสน รุ่นพ่อแม่เขาตายหมดแล้ว ก็เหลือแต่รุ่นใหม่ๆ พวกนี้ก็จะแบบ
อยู่แล้ววุ่นวายกัน เพราะว่าเกสต์เฮ้าส์หรือหอพัก
คอนโดมันขึ้นอยู่ในซอยนี้ทั้งนั้นเลย เหมือนมันกระจายมาจากถนนข้าวสาร
แล้วก็ไล่ๆมาจนถึงซอยพี่ ก็กว้านซื้อที่กัน ลูกหลานที่อยู่ในซอยนี้เขาขายออกไปหมดเลย
แล้วทีนี้ซอยนี้ก็เหมือนแบบ คอนโด เป็นอะไร คนมันก็มาคือฝรั่งมาอยู่แปปๆ
คนมาเช่าอยู่แปปๆก็ อย่างเซเว่น ซีพี ก็เช่าหอพักใกล้ๆบ้าน พวกนี้เขาก็มาเพื่อมานอน ตอนเช้าไปทำงาน คนแถวนี้มันไม่ได้อยู่ประจำแล้ว
เป็นเหมือนซอยธุรกิจแล้ว เพราะฉะนั้นถามว่ามีเด็กชุมชนมาเรียนมั้ย ไม่มีเลย
คุณแม่สั่งไว้ด้วยถ้าเป็นเด็กชุมชนให้เรียนฟรี เก็บเงินยังไม่มีเลย
เพราะมันไม่ใช่คนที่เขาอยู่ประจำเหมือนเป็นบ้านเขาจะมาส่งลูกหลานเรียนเหมือนสมัยก่อนนะ
มันเป็นคอนโด ตึก เป็นเกสต์เฮ้าส์
เป็นแหล่งท่องเที่ยวไปแล้ว ไม่มีเด็กชุมชนเรียนเลยดีกว่าตอนนี้
มันมีแต่คนข้างนอก มันเป็นซอยธุรกิจไปแล้ว
สมัยก่อนโรงเรียนวัดสังเวชเจอแบบอาจารย์ใหญ่ดีๆ เจ้าอาวาสวัดที่รักดนตรีไทย
ชอบดนตรีไทย รักศึกษาวัฒนธรรม ก็พอเวลาขอความร่วมมืออะไร จะซ้อมละคร จะเล่นงาน
ก็ไปขอที่จอดรถ ไปอะไร ยินดีดีใจ ให้ความร่วมมืออย่างดี มาเจออีกยุคนึง
ต้องทำหนังสือเข้าไป
5.อยากทราบว่าปัจจุบันทางมูลนิธิดุริยประณีตมีหน่วยงานไหนมาช่วยบ้างมั้ย
ที่จริงคุณแม่เป็นศิลปินแห่งชาติ
ก็คือขึ้นอยู่กับกระทรวงวัฒนธรรมน่ะค่ะ
ถ้าเราแบบทำเรื่องเข้าไปไรงี้ว่าขอสมมุติว่าจะอนุรักษ์บ้าน ซ่อมแซมบ้าน บ้านเก่า
บ้านที่เราสืบสานอยู่กำลังรื้อบ้าน รื้อหลังคา โกกขึ้นหมดเลยอ่ะ
ถ้าเราทำเรื่องไปว่าเราไม่มีเงิน ขอค่าใช้จ่ายมาช่วยอุดหนุน ก็คง ก็ไม่ได้ทำไง
ขอไปก็ไม่รู้เหมือนกัน ก็น่าจะได้บ้าน เพียงแต่ว่ายังไม่ได้ทำเรื่องเข้าไปด้วยตัวเองก่อน
ยังไม่ได้เยอะแยะอะไรก็แต่เคยคิดว่าถ้าเปิด อยากจะทำบ้านใหม่เลย
ให้เป็นแบบเอาโครงสร้างเดิมไว้ แต่ปรับปรุงใหม่ ไม่ให้มันรก
จัดทำมีเทปซีดีคุณแม่เก่าๆ เทปเรียล อยากจะเก็บในพิพิธภัณฑ์ เก็บบทละครเก่าๆ
ซึ่งตอนนี้มันก็อ่าน ดูในยูทูบได้ แต่เราอยากจะเก็บไว้ มันมีคุณค่า บทละครร้อง บทอะไรของคุณแม่ สมัยก่อน
อยากจะเก็บรวบรวมใส่ตู้ใส่อะไรให้มันเป็นระเบียบกว่านี้ ต้องทำบ้านใหม่ กำลังจะคิดทำอยู่
ก็ไปปรึกษาท่านผู้ใหญ่หลายๆท่าน ท่านก็บอกว่า ลองทำสิ เดี๋ยวจะช่วยอุดหนุน
ช่วยไรก็บอกมา จะเริ่มๆทำอยู่เหมือนกัน เริ่มคิด ก็ค่าใช้จ่ายก็คงเยอะเหมือนกัน"
6.ปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไป ความนิยมดนตรีไทยก็เริ่มน้อยลงคือ
จะเป็นอย่างไรต่อ ความนิยมต่อไปมันก็น้อย
"ไม่นะ พี่ว่ามันไม่เห็นน้อยเลยนะ
พี่ก็ว่ามันก็ดีขึ้นด้วยซ้ำ
เดี๋ยวนี้ตามมหาวิทยาลัยเรียนทางด้านดนตรีไทยถึงด็อกเตอร์แล้วนะ เปิดถึงปริญญาเอก
เขาก็ช่วยกันส่งเสริมดี แล้วเด็กก็สนใจเยอะขึ้นนะ พี่ว่าก็ไม่น้อยนะ
ก็ไม่น้อยกว่าเมื่อก่อนนะ ก็ดีขึ้น เด็กที่เรียนด้านนี้ก็แตกแขนงไปเยอะแยะ
ทุกมหาวิทยาลัยนี่มีชมรมดนตรีไทยหมดเลยนะ ไม่ใช่คณะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับ
เกี่ยวข้องกับดนตรีไทย จริงๆเขาก็จะมีชมรมดนตรีไทยให้เข้าไปเรียน เด็กก็สนใจเยอะ"
............................................................................................................................................................................................
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น