กิจกรรมและงานดนตรีในบ้านดุริยประณีต
กิจกรรมในอดีต
1. 1. การบรรเลงดนตรีและขับร้องเพลงไทย จัดในรูปแบบบรรเลงเพื่อการฟัง ในรูปแบบของวงจะเป็นวงปี่พาทย์ไม้นวม
วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงอื่นๆ แยกลักษณะงานได้ดังนี้
1.1 การบรรเลงดนตรีและขับร้องเพลงไทยทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
ยกตัวอย่าง 3 สถานีคือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ,สถานีวิทยุศึกษา ของศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน
กระทรวงศึกษาธิการและสถานีวิทยุ ท.ท.ท.
1.2การบรรเลงดนตรีและขับร้องเพลงไทยทางโทรทัศน์
สถานีโทรทัศน์ได้แก่ ไทยทีวีช่อง 4
หรือไทยทีวีสีช่อง 9 ได้แก่รายการ เพลินเพลงกับนฤพนธ์ ลับแลกลอนสด
เลื่อมลายเบญจรงค์
,สถานีวิทยุโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 รายการ สาระสังคีตและสถานีโทรทัศน์อื่นๆ
ภาพการขับร้องเพลงไทยในรายการเพลิดเพลินกับนฤพันธ์
ช่อง๔บางขุนพรหม
1.3.การบันทึกดนตรีของคณะดุริยประณีต
1.4.การประกวดขับร้องเพลงไทย มีการประกวดขับร้องเพลงไทย ซึ่งเป็นสมัยรัฐบาลจอมพล
ป. พิบูลสงคราม ปีพ.ศ.2537-2538 เป็นผู้ประสานงาน การจัดประกวดการขับร้อง
“เสียงใสลายคราม” การประชันวงปี่พาทย์
1.5.การประชันวงดนตรีไทย
ลักษณะพิเศษของดุริยประณีต มีดังนี้
1) แต่งเพลงนำเฉพาะก่อนการบรรเลงของคณะดุริยประณีต
ตัวอย่างเช่น
ก่อนบรรเลงโหมโรงเพลงศรีสังคีตจะมีเพลงนำก่อนทำนองเพลงมีลักษณะลีลาเป้นการประสานเสียงแนวคล้ายกับทำนองเพลงสากล
2) ปรับแต่งลุกหมดและเพลงหางเครื่องแบบแปลกหรูหราตามเพลงเกร็ด
3 ชั้นที่บรรเลงมาก่อนแล้ว และออกตามภาษา เช่น เพลงสุริโยทัย เถา
ออกลูกหมดหางเครื่อง มีการเดี่ยวเครื่องดนตรีแต่ละชนิดรอบวง
การเน้นเดี่ยวกลองสองหน้า
3) เน้นลีลาโลดโผน
เอาใจตลาด บรรเลงแล้วคนดูสนใจ ตื่นเต้น เร้าใจเป็นอันมาก
มีการข่มขวัญคู่ประชันโดยใช้วิธีการขับร้องและบรรเลงดนตรี
ใช้คำร้องที่ข่มขวัญคู่ประชันเวลาที่ต่างวงบรรเลงหรือการเดี่ยวเครื่องนั้น
เวลาใกล้จะจบเพลงนั้น
วงดุริยประณีตจะบรรเลงทับวงคู่ต่อสู้ช่วงวรรคท้ายของเพลงที่บรรเลง
เป็นการข่มให้ขวัญเจริญกระเจิง
4) มีการแสดงเดี่ยว
ใช้ลีลาการเดี่ยวที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ
เน้นเรื่องความสามารถเฉพาะเครื่องดนตรีเป็นสำคัญ เช่น เดี่ยวระนาด 5 ราง
เดี่ยวฆ้องมอญ 3 ราง การนอนเดี่ยวเครื่องดนตรี เดี่ยวเพลงโดยนักดนตรี 2 คน เช่น
การประชันกับผู้ใหญ่ประเสริฐ
ลักษณะการประชันวงดนตรีของวงบ้านบางลำพู
มีการประชันวง 2 รูปแบบ
การประชันวงหน้าพระที่นั่งของวงบ้านบางลำพูครั้งสำคัญ
ได้แก่ การประชันปี่พาทย์หน้าพระที่นั่งวังลดาวัลย์
และการประชันวงปี่พาทย์หน้าพระที่นั่งที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
2.การประชันวงแบบชาวบ้าน
มักจะมีผู้มาติดต่อให้ไปบรรเลงประชันวงตามงานต่างๆ
ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตภาคกลาง
วงที่นำไปประชันมักจะเป็นวงปี่พาทย์ไทยหรือวงปี่พาทย์มอญ
โดยมีทั้งแบบหาไปประชันและประชันโดยบังเอิญ
ภาพการประชันปี่พาทย์ระหว่าง บ้านดุริยประณีต กับ บ้านบางกะปิ
1.6.การบรรเลงดนตรีตามงานต่างๆ ให้แก่เจ้าของงานตามแหล่งต่างๆ มีหลายรูปแบบ ดังนี้
1) การบรรเลงและขับร้องให้แก่เชื่อพระวงศ์ต่างๆ
2) การบรรเลงดนตรีไทยในห้องอาหารพิมาน
3) การบรรเลงดนตรีไทย ณ
สังคีตศาลา
4) การบรรเลงดนตรีไทยที่สาขานาเกลือ
1. 2. การบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงและการละเล่นต่างๆ
1.1
การบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงประเภทต่างๆ
2.1.1.
โขน
กำเนิดมาจากการละเล่นดึกดำบรรพ์หรือชักนาคดึกดำบรรพ์
โดยผู้ชายที่แสดงจะสวมหัวโขนหรือหน้าโขนมาแสดง วงบ้านบางลำพูจะนิยมบรรเลง 2 ลักษณะ
คือ
โขนหน้าไฟ นิยมนำมาแสดงก่อนเผาศพ วงบ้านบางลำพูส่วนใหญ่จะนำโขนไปแสดงเรื่อง
รามเกียรติ์ และโขนฉาก ซึ่งแสดงตามห้องอาหาร การแสดงโขนตามห้องอาหารประจำคือ
ห้องอาหารพิมาน ที่ถนนสุขุมวิท นิยมแสดงตอน ยกรบ
2.1.2.
ละครดึกดำบรรพ์ กำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 5
โดยมีการแสดงโอเปร่าเป็นแบบอย่าง วงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงในละครดึกดำบรรพ์ คือ
วงปี่พาทย์ของวงกรมศิลปากร หรือวงดุริยประณีตบรรเลงประกอบทุกครั้ง
ละครเกือบทุกเรื่องของสมภพ จันทรประภา มีผู้บรรจุเพลงก็คือ ครูสุดจิตต์
ดุริยประณีต ตัวอย่าง แผ่นเสียงลองเพลย์ของคณะดุริยประณีตบันทึกกับบริษัทกมลสุโกศล และแผ่นเสียงลองเพลย์ตราโคลัมเบีย
ทำแผ่นเสียงที่ประเทศอินเดียโดยใช้บทขับร้องเรื่องอิเหนา
2.1.3.
ละครพันทาง
ละครเป็นลักษณะผสมระหว่างละครในและละครนอก
เมื่อตอนใดที่เป็นการแสดงเกี่ยวกับชาติอื่นๆจะมีการแต่งกายตามชาตินั้นๆและบรรจุเพลงของชาตินั้น
จึงเรียกว่า “ละครพันทาง” วงบ้านบางลำพูได้นำเอาบทละครเรื่องราชาธิราชตอน “ลาวแก่นท้าวกัดนิ้ว”มาบรรจุเพลงมอญพม่าโดยครูชื้น
ครูชั้น ดุริยประณีต
ทำให้ทำนองเพลงนั้นเหมาะสมเข้ากับเหตุการณ์เรื่องราวของละครเป็นอย่างมาก
อีกทั้งได้นำเอาวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลงประกอบ ทำให้ได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น
2.1.4.
ละครร้อง ลักษณะละครเป็นเรื่องของชาวบ้านสามัญ มีการขับร้องโดยต้นเสียง
มักจะเป็นนักละคร มีลูกคู่คอยร้องรับใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการแสดง
วงดุริยประณีตได้ร่วมงานละครร้องกับคณะละครแม่บุนนากโดยครูศุขเป็นหัวหน้า
2.1.5.
หุ่นกระบอก บ้านดุริยประณีตได้บรรเลงดนตรีประกอบการแสดงหุ่นประกอบสมัยช่อง4
และช่อง9 นิยมแสดงเรื่องพระอภัยมณี
2.2. ลิเก
ลิเกได้เปลี่ยนแปลงจากลักษณะการสวดของแขกเจ้าเซ็นผสมกับการเล่นออกภาษาแบบไทยๆ
มาเป็นลักษณะของการละคร วงดุริยประณีตมีการบรรเลงประจำวิกลิเกโดยเริ่มต้นขึ้นในสมัยครูสุข
รับบรรเลงดนตรีปี่พาทย์ประกอบการแสดงลิเกของวิกตาช่วงปี 2495 จอมพลป. พิบูลสงคราม
ได้จัดประกวด “ลิเกต่อต้านคอมมูนิสต์ชิงถ้วยทองคำ” ทางบ้านดุริยประณีตก็ได้ส่งคนมาร่วมแสดง
2.3.
สักวา สักวาเป็นมหรสพสำหรับการเล่นสนุกในทางน้ำของไทยมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ตัวอย่างงานที่ไปบรรเลงดนตรีประกอบการแต่งสักวา เช่น รายการลับแลกลอนสด
รายการสังคีตภิรมย์
2.4.การเล่นสิงโตญวน
นายโชติเป็นคนเชิดสิงโตญวณซึ่งนับว่าเป็นคนสำคัญในการละเล่น
1. 3. กิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีไทย
กิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีไทยในบ้านดุริยประณีตโดยมีวัตถุประสงค์
3.1.เพื่อการประกอบวิชาชีพ มีผู้เรียน
2 ลักษณะ คือ
3.1.1.บุคคลภายในตระกูล แบ่งเป็น
สมัยครูศุข นางแถม และครูโชติ มีการเรียนการสอนแบบตัวต่อตัวและเป็นหมู่คณะ
ลูกศิษย์ที่มาเรียนจะเน้นคนที่เรียนปี่พาทย์มากกว่าคนเครื่องสาย ในรุ่นของครูศุข
ครูโชติ และครูชื้น เน้นรูปแบบของบ้านเครื่อง
ให้ความสำคัญกับงานที่จะต้องไปประกอบอาชีพ
สมัยครูสุดจิตต์
มีวิธีถ่ายทอดเหมือนรุ่นก่อน แต่บุคคลที่จะถ่ายทอดนั้นจะเป็นผู้อาวุโสภายในครอบครัว
และลูกศิษย์คนสำคัญของบ้าน
3.1.2.บุคคลภายนอกตระกูล
จะมีการฝากตัวเข้ามาเป็นศิษย์
และมีการรับเชิญจากสถาบันการศึกษาต่างๆ หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชน
3.2. เพื่อความเพลิดเพลิน ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลภายนอกที่มีความสนใจที่ชื่นชอบในเรื่องดนตรีไทย
นิยมบรรเลงดนตรีเพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงานหรือเป็นการส่งเสริมให้บุตรหลานมีทักษะเพื่อใช้ในการศึกษาต่อโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต่อไป
3.3.พิธีไหว้ครูดนตรีไทย
มีพิธีกรที่เป็นครูอาวุโสเป็นผู้อ่านโองการไหว้ครู
การกำหนดวันในการจัดงานพิธีไหว้ครูดนตรีไทยส่วนใหญ่จัดในวันพฤหัสบดีในเดือนตุลาคมของทุกปี
สถานที่จัดงานคือบ้านเครื่องหรือบ้านที่ครูสุดจิตต์อาศัยอยู่
ผู้ร่วมงานประกอบไปด้วยนักดนตรีภายในและภายนอกบ้าน
ภาพพิธีไหว้ครูโดยมีครูมนตรี
ตราโมทเป็นผู้อ่านโองการ
ภาพกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีไทย
1. 4. กิจกรรมการสร้างเครื่องดนตรีไทยขาย แต่เดิมนั้นเป็นกิจการของครอบครัวนางแถม
ต่อมาสร้างเป็นโรงงานและขายเครื่องดนตรี เมื่อมีร้านขายเครื่องดนตรีมากขึ้น บ้านดุริยประณีตจึงเปลี่ยนมาเป็นนายหน้าสั่งเครื่องดนตรีจากร้านค้าอื่นๆแทน
2. 5. การแต่งเพลง ได้แก่ เพลงโหมโรงศรีสังคีต 3 ชั้น ของครูโชติ ที่นำเอาเพลงสีนวลมาแต่งขึ้นเป็น 3 ชั้นใช้สำหรับเป็นเพลงโหมโรง
เพลงโหมโรงราชินี ของจ่าสิบเอกสมชาย ดุริยประณีต นำทำนองเพลง “นางฟ้าจำแลง”มาดัดแปลง เพลงโหมโรงมอญพายัพ ของนายชื้น
ดุริยประณีต เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น