กิจกรรมและงานดนตรีของบ้านดุริยประณีต (ปัจจุบัน)


ตลอดระยะเวลา 113 ปีมาแล้วที่บ้านดุริยประณีตได้ก่อตั้งขึ้น มีการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรีไทย และนักดนตรีที่มีชื่อเสียงไว้จำนวนมาก มีกิจกรรมทางดนตรีต่างๆตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนดนตรีขึ้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อีกทั้งปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดการเปลียนแปลง แต่บ้านดุริยประณีตก็ยังคงรักษาและสืบทอดดนตรีไทยมาได้จนถึงปัจจุบัน
ในปัจจุบันมูลนิธิบ้านดุริยประณีตอยู่ในความดูแลของคุณชยันตี  อนันตกุล ผู้เป็นบุตรสาวของครูสุดจิตต์ และยังคงมีกิจกรรมดนตรีหรืองานดนตรี ได้แก่ เปิดสอนดนตรีไทยทุกเสาร์อาทิตย์และยังเปิดสอนรำไทยควบคู่กันไปด้วย ซึ่งนักเรียนที่มาเรียนนั้นมีมากพอสมควร มีรับงานดนตรีหรืองานแสดงต่างๆตามสถาบัน หรือหน่วยงานราชการ มีพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ซึ่งบ้านดุริยประณีตนั้นเป็นลักษณะแบบเอกเทศน์ไม่ขึ้นกับใคร ลูกหลานก็จะช่วยกันดูแลตลอดและมีลูกศิษย์ของครูสุดจิตต์บ้างที่คอยช่วยเหลือ ตลอดทั้งอดีตที่ผ่านมาบ้านดุริยประณีตซึ่งมีลูกหลานล้วนเป็นนักดนตรีทั้งหมด 


...................................................................................................................................................................


กิจกรรมและงานดนตรีของบ้านดุริยประณีตในปัจจุบัน

1.พิธีไหว้ครูดนตรีไทย ซึ่งจะมีในช่วงต้นเดือนธันวาคม ซึ่งมีลูกหลานและลูกศิษย์มาร่วมพิธีจำนวนมาก


                                                                    พิธีไหว้ครูในปัจจุบัน


                                             ลูกศิษย์ของบ้านดุริยประณีตในพิธีไหว้ครู

   2.บ้านดุริยประณีตรับออกงานต่างๆเช่น เล่นดนตรีในงานศพ  งานของมหาวิทยาลัย งานจากสถาบันหรือหน่อยงานต่างๆ ซึ่งเน้นหนักไปทางบรรเลงดนตรีไทย  


                                       ภาพวงบัวลอยของบ้านดุริยประณีตในพิธีฌาปนกิจศพ 


                                ภาพการเล่นดนตรีไทยที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในงานวันสงกรานต์


       ในอดีตดนตรีไทยใช้เล่นเพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆตั้งแต่เกิดจนตาย คืออยู่ในทุกช่วงชีวิต ใช้ประกอบอาชีพ เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำงาน เพราะเมื่อก่อนการศึกษาไม่ได้เปิดกว้างเหมือนในสมัยนี้ และวัฒนธรรมต่างชาติยังไม่เข้ามามีอิทธิพล ทำให้ดนตรีไทยรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก  แต่ในปัจจุบันดนตรีไทยถูกใช้ไปในเชิงพาณิชย์ ส่วนมากใช้ในพิธีกรรมมากว่าการเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน ผู้ที่สนใจหรือผู้ที่มาศึกษา สำหรับเด็ก จะใช้เพื่อเป็นความรู้เป็นทักษะ ความสามารถในการสอบเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ สำหรับผู้ใหญ่จะศึกษาเพื่อเป็นทักษะ ฝึกสมาธิ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  
การเรียนศิลปะดนตรีไทย แบ่งออกเป็นช่วงเวลา ดังนี้
1.       9.30 น. – 10.30น. สอนรำ
2.       10.30 น. – 12.30 น. สอนเครื่องสาย
3.       13.00 น. – 14.00 น. สอนโขน
4.       16.00 น. -  18.00 น. สอนดนตรีเครื่องอื่นๆ
ค่าเรียน 500 บาท/เดือน เรียนทุกเสาร์ อาทิตย์


ภาพการเรียนการสอนดนตรีไทย / การสอนรำไทย






ความคิดเห็น